ระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย)
DE Win-Win SME
หลักการและเหตุผล
ผลกระทบที่เกิดจาก Covid-19 ทำให้ทุกๆอย่างแทบจะหยุดนิ่ง จากมาตรการที่รัฐบาลภายใต้การบริหารของท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้การล็อคดาวน์ เพื่อที่จะหยุดการแพร่เชื้อ ซึ่งได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และก็ได้ผลเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค บริษัท ห้างร้านต่างๆ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ผู้ประกอบการบางรายต้องลดกำลังการผลิต บางรายต้องหยุดการผลิต รวมทั้งสมาชิกของสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทยก็ได้รับผลกระทบด้วย และจากการทำงานที่จริงจังของรัฐบาล และความร่วมมือของประชาชนคนไทย ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 โดยผู้ก่อตั้ง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการครั้งใหญ่ ทั้งสมาคม ชมรม สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ จนถึงปัจจุบันเป็นศูนย์รวมของสมาคมการค้า และสมาคมวิชาชีพแล้วกว่า 130 องค์กร เป็นตัวแทนในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ สภาวิชาชีพ สถาบันการเงินและองค์กรเอกชนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมี สโลแกนว่า “รวมพลคนตัวเล็ก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย “จนมาถึง ณ ปัจจุบันนี้ มีสมาชิกอยู่กว่า 30,000 คนทั่วประเทศแบ่งการบริหารงานออกเป็น 5 ภาค 18 กลุ่มจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด 878 อำเภอ ด้วยยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่อง
- Ease of doing Biz “Eco System”
- SME policy maker “Voice of SMEs“
วิสัยทัศน์
สมาพันธ์ SME ไทยเป็นเครือข่ายองค์กร SME หลักของประเทศที่เข้มแข็งเป็นเสาหลักในการพัฒนา SME
ในทุกมิติและสามารถร่วมมือได้กับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
พันธกิจ
- สร้างสังคม ของการเรียนรู้ และบรรยากาศที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ( Eco – system )
- เป็นกระบอกเสียงในการแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับ SME และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างโอกาสทาง
การค้าให้กับ SME (Voice of SMEs)
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนทุกระดับ ยกระดับธุรกิจ SME ทุกภาคส่วน
(Connectivity and Collaboration)
- พัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพนำ Technology Innovation and creativity
(TIC)ที่มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของ SME ( Organization Development )
เป็นองค์กรที่เป็นแบบอย่างด้านธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจและมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม (
Good Governance & Good Image )
วัตถุประสงค์
- พัฒนา ระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย) "DE Win-Win SME” เพื่อช่วยให้สมาชิกสมาพันธ์
เอสเอ็มอีไทยจำนวนกว่า 30,000 ราย ได้ใช้เป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ได้สินค้าหรือบริการในราคาถูก พร้อมทั้งช่วยระบายสต๊อกได้อีกทางหนึ่ง
- จัดกิจกรรมเพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ จากคนตกงาน และนักศึกษาจบใหม่ ที่พร้อมจะพัฒนาเป็น
ผู้ประกอบการ SME
- จัดกิจกรรมเพื่อยกระดับให้สมาชิกสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทยได้ใช้งานระบบการรวมกันซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง2 ฝ่าย) “DE Win-Win SME” อย่างแพร่หลาย
- การประชาสัมพันธ์ ระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย) “DE Win-Win SME” ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ และสื่อข้อมูลออกไปให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศได้ รับทราบและใช้งาน ระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย) “DE Win-Win SME”
- จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย) “DE Win-Win SME” ตาม
แหล่งท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเกิดการรับรู้ได้ทั่วถึง ทั้งคนในท้องถิ่น และผู้ประกอบการทั่วไป
เป้าหมายของโครงการ
- ได้ ระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย) “DE Win-Win SME” เพื่อสนับสนุน และช่วยส่งเสริมสมาชิกในสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย ได้สินค้าหรือบริการในราคาถูก และระบายสต๊อก 1 ฟอร์ม
- เพื่อให้สมาชิกสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทยจำนวนกว่า 30,000 ราย ได้ใช้งานระบบการรวมซื้อ (ผู้ซื้อ-
ผู้ขาย พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย) “DE Win-Win SME”
- เพื่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ จากคนตกงาน และนักศึกษาจบใหม่ เข้าสู่ระบบ อี-คอมเมิร์ซ อย่างน้อย 500 รายทั่วประเทศ
- เกิดการซื้อขายผ่านระบบเฉลี่ยเดือนละ 300 ครั้ง หลังจากส่งมอบโครงการฯ
- เกิดการซื้อขายผ่านระบบฯ ปีละ 50 ล้านบาท หลังจากส่งมอบโครงการฯ
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเป้าหมายหลัก สมาชิกสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย จำนวนกว่า 10,000 ราย ให้ครบทั้ง 4 ภาค
- กลุ่มเป้าหมายรอง ผู้ประกอบการทั่วไป ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกสมาพันธ์ฯ ในแต่ละจังหวัด